Tuesday, May 12, 2009

ชูการ์ ชูก้า ไกลเดอร์ Sugar Glider จิงโจ้บิน




   ชูการ์ ชูก้า Sugar ไกลเดอร์ Glider จิงโจ้บิน หลายชื่อต่างๆนี้ หลายคนอาจจะเคยได้ยิน หรือ หลายคนอาจจะไม่เคยรู้จักมันเลย หรือ อีกหลายคนอาจคิดว่าผมกำลัง พูดถึง เครื่องร่อน น้ำตาล แต่แท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่ผมต้องการพูดถึงคือ เจ้าสัตว์เลี้ยง แสนน่ารักในรูปนั่นเอง ต่อไปนี้ผมจะใช้ชื่อเรียกว่า ชูการ์ เจ้าชูการ์ นี้เป็นสัตว์เลี้ยงที่นิยมมากในต่างประเทศรวมถึงประเทศไทย จริงๆแล้วมีเข้ามานานมากแล้วแต่ยังไม่แพร่หลาย จนเมื่อ 5-6 ปีก่อนเริ่มมีเข้ามาเลี้ยงจนเป็นที่นิยม ชูการ์เป็นสัตว์ประจำถิ่นของ ประเทศ ออสเตเรีย , อินโดนีเซีย สิ่งที่พิเศษในตัวของมันนอกเหนือจากหน้าตาอันแสนหวานและน่ารักของมัน คือ มันมีพังผืด (fascia) ที่เอาไว้ล่อน เฉกเช่นเดียวกับ กระรอกบิน หรือ บ่างบ้านเรา และอีกสิ่งหนึ่งที่อาจเป็นเหตุผลสำคัญอีกประการทำให้เจ้าชูการ์ดึงดูดความสนใจจากบรรดาคนรักสัตว์เลี้ยง นั่นก็คือความพิเศษที่เจ้าตัวน้อยนี้มีกระเป๋าหน้าท้อง(pouch)ที่เอาไว้สำหรับเลี้ยงตัวอ่อนเช่นเดียวกับเจ้าจิงโจรุ่นพี่ที่มีเชื่อเสียงโด่งดังทั่วโลก ชูการ์เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ชูการ์มีระยะการตั้งท้องที่ไวมาก (ซึ่งจะพูดถึงเรื่องนี้กันอย่างละเอียดในหัวข้อการเพาะพันธุ์ ) เมื่อลูกชูการ์ให้กำเนิดจะตัวเล็กมาก ประมาณเมล็ดถั่วเขียว และจะไต่เข้าไปพักอยู่ในถุงหน้าท้องของแม่เพื่อกินนมและรับไออุ่น และจะอาศัยอยู่ในนั้นจนพร้อมที่จะลืมตาดูโลก


   หลายคนคิดว่าชูการ์เป็นสัตว์ฟันแทะเช่นเดียวกับกระรอก แต่ที่จริงแล้วชูการ์ไม่ใช่สัตว์ฟันแทะ และไม่ได้เป็นสัตว์กินพืช ชูการ์ในป่า กินอาหารหลากหลายมาก ทั้งพืชผัก ผลไม้ ยางไม้ น้ำหวานจากต้นไม้และดอกไม้ และ อาหารหลักที่ขาดไม่ได้คือ โปรตีน จากสัตว์เล็กๆ เช่น แมลง , ลูกนก , ลุกหนู , ตะขาบ หรือ ไข่นก ดังนั้น ชูการ์จึงเป็นสัตว์ที่มีความต้องการโปรตีนมาก ในประเทศไทยนิยมให้ ซีลีแลค อาหารเด็กอ่อน เป็นอาหารหลักสำหรับเจ้าชูการ์ ซึ่งซีลีแลค ประกอบด้วยสารอาหารมากมายทั้ง โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และแร่ธาตุ แต่ด้วย คาร์โบไฮเดรต หรือ แป้ง ที่มีมากกว่าจึงทำให้นานวัน เจ้าชูการ์ก็จะอ้วนดูน่ารักแต่แฝงไปด้วยโรคภัยต่างๆ ดังนั้นอาหารที่ให้ชูการ์ควรจะ สลับและหมุนเวียนมากกว่าให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นหลัก


   ชูการ์ ไกลเดอร์ นั้น จริงๆแล้วมีสีต่างๆ หลายสีเช่นกันแต่ในบ้านเรา มีเพียงสีเดียวเพาะสีอื่นๆนั้นเป็นสีที่ผู้เพาะพันธุ์ หรือ Breeder เมืองนอกได้ทำการผสมและนำยีนด้อยมาคอสกันจนเกิดสีต่างซึ่งเราจะพูดถึงเรื่องสีนี้ให้ละเอียดมากขึ้นในบทของ "สีของเจ้าชูการ์"


   การขยายพันธุ์ชูการ์จะให้กำเนิดลูกโดยเฉลีย 2 ตัว และสามารถให้ ลูกได้ ปีละ 2 - 3 ครั้ง แล้วเราจะพูดถึงหัวข้อการขยายพันธุ์นี้อย่างละเอียดในโอกาสหน้า









รูปประกอบจากอินเตอร์เน็ต